สวีดัส สวัสดีครับ _/|\_
ยังจำกันได้อยู่มั้ยน้า ย้อนไปก็หลายปีอยู่ในยุคเฟื่องฟูของบล็อกต้นไม้ดอกไม้เล็กๆบล็อกหนึ่ง ก่อตั้งและเขียนบทความอย่างต่อเนื่องโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐตัวเล็กๆน่ารักๆคนนึงที่มีใจรักในการปลูกไม้สวยไม้น่าสะสมตามสไตล์ความชื่นชอบส่วนตัว ชีวิตเริ่มพลิกผันเมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงานในบริษัทเอกชนสัญชาติเกาหลีแห่งนึงกลางเมืองหลวงที่แสนจะแออัดและวุ่นวาย เปลี่ยนเลยจริงๆนะครับ เวลาที่เคยมีให้กับสิ่งที่ตัวเองรักก็ถูกลดทอนไปตามหน้าที่การงานและแรงกดดันหลายๆอย่างในสังคม เมื่อมาเขียนบทความอีกครั้ง มองย้อนกลับไปก็พบแต่ความทรงจำดีๆ ปลื้มใจที่ได้รู้จักกับมิตรภาพที่มาจากหลากหลายมุมทั้งในไทยและต่างประเทศ หลายๆคนที่รู้จักกันจากทางบล็อก ก็กลายเป็นเพื่อนเป็นพี่ที่สนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำ แลกต้นไม้และดูแลกันมาตลอด นี่ก็ก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 (กว่าๆ) ของบล็อกนี้แล้ว นาย Fiyero คนเดิมจะกลับมาทักทายกันให้บ่อยขึ้นนะครับ… สัญญาครับ

เมื่อ 5 ปีก่อน — ไวมากจนน่าตกใจ — นาย Fiyero ได้มีโอกาสพาเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่น่ารักของเราไปเยือนงานต้นไม้ที่นักปลูกนักสะสมต่างตั้งตารอคอยกันทุกปี งานที่สวนต้นไม้ต่างๆจะงัดไม้เด็ดมาอวดโฉมกันทุกครั้ง ปีนี้จะมีอะไรโดนใจวัยโจ๋อย่างนาย Fiyero และทีมงานบ้าง ตามมาชมกันได้เลยนะคร้าบ…
(เพิ่มเติม…)
สวัสดีครับ… วันนี้มีโอกาสได้เข้ามาเขียนในส่วนนี้แต่ก็ไม่พ้นเรื่องดนตรีอีก และเรื่องที่จะนำมาบอกเล่าในวันนี้คือเรื่อง 古箏 เสียงพิณจากแดนสวรรค์ ตัวอักษรจีน ๒ ตัวนี้
古箏 อ่านออกเสียงว่า Gŭ Zhēng หรือในภาษาไทยเป็นที่รู้จักกันในนามของ กู่เจิง
คำว่า 古 Gŭ กู่ โดยรากศัพท์แปลว่า เก่าแก่ โบราณ
คำว่า 箏 Zhēng เจิง นั้นเป็นชื่อเฉพาะของเครื่องดนตรีชนิดนี้ ซึ่งในการออกเสียงตามภาษาจีนแล้วก็ไม่ได้ออกเสียงว่าเจิงตรงๆตัว Zh ตัวนี้จะเป็นการออกเสียงในลักษณะของการห่อลิ้น (Retroflex) ที่เกิดปลายลิ้นกับเพดานแข๊งเวลาเปล่งเสียง ปลายลิ้นแตะกับเพดานแข๊งปิดกระแสลมไว้ เมื่อเปล่งเสียออกมาลมจะออกมาทางช่องแคบระหว่างปลายลิ้นกับเพดานแข๊ง นี่คือเสียงที่แท้จริงของคำๆนี้ (ลองทำปากลักษณะนี้เวลาออกเสียงคำว่า “เจิง” นะครับ นั่นล่ะเสียงของคำนี้)
โอเค ต่อกันเลย เครื่องดนตรีนี้เรียกกันหลายชื่อตามสำนวนภาษาของแต่ละท้องถิ่นเช่นชาวจีนแต้จิ๋วเรียก “โกวเจ็ง” หรือ “เจ็ง” คนไทยเรียก “เจ้ง” “เจิง” “กู่เจิง” หรือ “จะเข้จีน” “พิณจีน” ส่วนภาษาจีนกลางหรือชาวจีนแผ่นดินใหญ่เรียก “กู่เจิง” หรือ “เจิง” แต่ตามความเป็นจริงแล้วเครื่องดนตรีชนิดนี้มีชื่อเรียกเพียงพยางค์เดียวคือ 箏 เจิง ส่วนคำว่า กู่ เป็นคำขยายในภาษาจีนหมายถึงสิ่งที่เก่าแก่โบราณ ดังนั้นถ้าจะเรียกตามสำนวนภาษาไทยให้มีความหมายแล้วชื่อของเครื่องดนตรีชนิดนี้ควรจะเรียกว่า “พิณจีนโบราณ” ที่เรียกว่าพิณจีนโบราณเพราะเครื่องดนตรีนี้มีมานานแสนนานตั้งแต่รุ่นก่อนประวัติศาสตร์หรือก่อนการก่อเกิดกำแพงเมืองจีนด้วยซ้ำไป

古箏 กู่เจิง
(เพิ่มเติม…)
พูดถึงเพลงจีนอมตะสักเพลงครับ จริงๆมีเยอะแยะเต็มไปหมดเท่าที่คนไทยรู้จักกันก็เป็นสิบๆเพลงแล้ว แต่วันนี้พูดถึงเพลงจีนที่อมตะจริงๆ หมายถึงเพลงที่คนจีนก็รู้จักและเป็นอมตะจริงๆ แน่นอนถ้าเพื่อนๆที่เรียนภาษาจีนหรือศึกษามาก่อนก็คงคิดไม่ต่างกับแมคแน่นอน นั่นก็คือเพลง 月亮代表我的心 (yuè liang dài biăo wŏ de xīn, ดวงจันทร์แทนหัวใจฉัน) เพลงนี้ต้นฉบับเป็นของ 鄧麗君 หรือ Dèng LìJūn หรือ Terasa Teng หรือ เติ้งลี่จวิน นั่นเอง (หลายหรือจริงๆ งิงิ) เพลงนี้กล้าพูดได้เลยว่าคนจีนทั่วโลกร้องได้ชัวร์ๆล่ะ โดยเฉพาะที่แผ่นดินใหญ่หรือไต้หวันก็ตาม คนจีนคนไหนร้องไม่ได้หรือไม่รู้จัก คนนั้นต้องเป็นไส้ศึกแหงๆแมคฟันธง
วันนี้เลยนำเอามาให้ฟังกันทั้ง ๒ เวอร์ชั่นเลย แต่เวอร์ชั่นแรกที่ได้ยินนี้เป็นของ 張國榮 หลายคนงงเพราะอ่านไม่ออก @_@ 張國榮 หรือ Zhāng GuóRóng (ก็ยังงงอยู่ดี) งั้น ก็ Leslie Cheung (เริ่มเดากันได้แล้ว) ก็ เลสลี่ จาง นั่นล่ะครับ… จากชีวิตที่เหมือนละครของชายคนนี้กับการจากไปแบบไม่มีวันกลับมาโดยการปิดฉากชีวิตด้วยการอัตวินิบาตกรรม (กระโดดตึก) ๑๒ กันยายน ๑๙๕๖ – ๑ เมษายน ๒๐๐๓ ทำให้คนทั้งโลกช๊อคตามๆกันไป … เพลงนี้ในเสียงร้องของผู้ชายที่ชื่อ เลสลี่ จาง จากอัลบั้ม Leslie Endless Love แมคว่าฟังแล้วมีเสน่ห์มากๆทีเดียวฟังแล้วคงทำให้นึกถึงเขาบ้างไม่มากก็น้อย …
เวอร์ชั่นที่ ๒ เป็นต้นฉบับของ 鄧麗君 (Dèng LìJūn) ๒๙ มกราคม ๑๙๕๓ – ๘ พฤษภาคม ๑๙๙๕ นักร้องซึ่งเป็นอัจฉริยะคนหนึ่งของวงการเพลงจีน เติ้งลี่จวิน เป็นคนไต้หวันโดยกำเนิด ช่วงที่ฮ่องกงกำลังเสมือนเป็นจุดศูนย์กลางของวงการเพลงหรือหนัง เธอก็ได้เดินทางมาทดสอบเพื่อเป็นนักร้องในรุ่นเดียวกันกับ ฟรานซิส ยิบ (คนที่ร้องเพลง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ที่โด่งดังเป็นพลุแตก) แต่โชคไม่เข้าข้างก็เลยไม่ได้รับคัดเลือก แต่อย่างที่บอกไงครับ คนมีความสามารถการจะไปตามฝันไม่ใช่เรื่องที่ลำบากเกินเอื้อม และวันหนึ่งเธอก็โด่งดังมาด้วยความสามารถที่แสดงให้คนทั่วโลกรู้จักเธอ เติ้งลี่จวิน เสียชีวิตที่เชียงใหม่ซึ่งตอนนั้นอยู่ในช่วงเที่ยวพักผ่อนของเธอที่เชียงใหม่ ถ้าแมคจำไม่ผิด เธอเสียชีวิตแบบฉับพลันด้วยโรคประจำตัวกำเริบก่อนถึงโรงพยาบาล (โรคหืด) ถือเป็นการปิดฉากของชีวิตนักร้องชื่อก้องโลกด้วยวัยเพียงแค่ ๔๒ ปีเท่านั้น !!! น่าเสียดายจริงๆ เพลงของเธอเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกโดยเฉพาะที่จีนแผ่นดินใหญ่ถึงกับมีการขนานนามว่า “Deng Xiaoping rules China, but by night, Deng Lijun rules” เพราะเพลงของเธอโด่งดังมากๆ ถ้าไปร้านคาราโอเกะร้านไหนก็จะเจอคนร้องแต่เพลงของเธอจนถึงทุกวันนี้
(เพิ่มเติม…)
ละเลงโดย Fiyero วันจันทร์ 7 ธันวาคม 2015
มึนไปแล้ว 2 ความคิดเห็น