มะฮะแอ๊ววว แจ๊วว เอ.. ภาษาอะไรว่า เอาเป็นว่าสวัสดีครับมิตรรักนักอ่านทุกท่าน
มาพบกันอีกครั้งแล้วนะครับ มาคราวนี้นาย Invisible คนเดิมก็มาเขียนอีกแล้ว ไม่รู้ว่าเบื่อกันหรือยัง แต่ไม่เป็นไรครับ เราก็จะดื้อด้านเขียนกันต่อไป
วันนี้เป็นวันฤกษ์งามยามดีที่ได้ผ่านการคำนวนนาทีมาแล้วว่าสามารถเริ่มบรรจงเขียนบล็อกได้ เลยเดินดุ่มๆลงไปดูต้นไม้ในสวนอีกตามเคย ตามประสาคนไม่เคยคิดอะไรไว้ล่วงหน้าและมักง่าย 55555
เดินไปเดินมา ก้อไปคว้าเอาต้นไม้อีกต้นมาถ่ายรูปจนได้ แต่จะว่าเป็นต้นก็คงไม่ถูก คงต้องบอกว่าเป็น ‘กลุ่ม’ ใหญ่ๆก็แล้วกันครับ
ที่ต้องบอกว่ากลุ่มใหญ่ๆ เพราะว่าพรรณไม้ในกลุ่มสับปะรดสีนั้นมีความหลากหลายสูงมาก มีตั้งแต่พวกที่ขึ้นห้อยโหนโจนทะยานในอากาศอย่างพวก Tillandsia พวกที่ขึ้นตามดินอย่าง Cryptanthus แต่สำหรับวันนี้นั้นผมจะอธิบายคร่าวๆ ถึงสับปะรดกลุ่มที่เรียกกันว่า ‘สับปะรดหนาม’ ในกลุ่มดิกเกีย (Dyckia spp.) ให้ทราบกันนะครับ
ดิกเกียหรือสับปะรดหนามกลุ่มนี้เป็นพรรณไม้ทนแล้ง ที่มีถิ่นการแพร่กระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เช่นบราซิล อาร์เจนตินา ปากราวัย และอุรุกวัยเป็นต้น ลักษณะเด่นๆของพรรณไม้ในกลุ่มนี้ก็คือหนามครับ เรียกได้ว่าเผลอเป็นได้เลือด แถมยังเกาะเกี่ยวแนบแน่น โหดไม่แพ้กระบองเพชรตัวไหนๆ แต่ก็นั่นแหละครับ ต้นไม้พวกนี้ยิ่งดูก็ยิ่งสวย ด้วยเสน่ห์ที่ปลายหนามจริงๆ เวลาทำอะไรกับมันก็หาถุงมือมาใส่ไว้หน่อยก็ดีครับ
สับปะรดหนามเหล่านี้เป็นไม้ดูต้นและดูใบครับ จะว่าไปถ้าอยากปลูกไว้ดูดอกก็ทำได้เหมือนกัน เพียงแต่ไม่ค่อยมีใครเค้าสนเท่าไหร่ เพราะถึงดอกจะมีสีสดสีจัดก็จริง แต่มีขนาดเล็ก และดูไม่สะดุดตาเมื่อเทียบกับรูปทรงและขนาดแต่อย่างใด สับปะรดพวกนี้จึงเหมาะที่จะปลูกเอาไว้ดูความแปลก ความสวยงามของลำต้นเสียมากกว่า
วงการสับปะรดหนามในบ้านเรานั้นเพิ่งเริ่มจะมาคึกคักกันไม่นานมานี้นี่เองครับ ก่อนหน้านี้จำได้ว่าจะมีก็แต่สับปะรดหนามชนิด Dyckia marnier-lapostollei ที่นักเล่นแคคตัสมีติดรังกันไว้บ้างเพียงชนิดเดียวนั่นแหละครับ ที่พอจะหามาเลี้ยงกันได้บ้าง นอกจากนั้นคนไทยแทบจะไม่รู้จักเจ้านี่เอาเสียเลย ซ้ำร้ายยังไม่รู้อีกว่าที่เห็นๆกันนั่นน่ะ คือสับปะรด!
ถ้าอยากได้แปลกๆหน่อย ก็ต้องใช้วิชากำลังภายในกันเล็กน้อย กว่าจะสรรหามาได้แต่ละต้น ถ้าไม่ไขว่คว้าถึงเมืองนอกเมืองนา ฝากเพื่อนส่งมาให้บ้าง ก็ต้องลองเสี่ยงดวงสั่งจากเนอร์สเซอรี่ต้นไม้ทั้งในยุโรปและอเมริกาดู พอได้ต้นพันธุ์มาแล้วก็ฟูมฟักเป็นปีๆ กว่าจะกลับมาสวยเต็มฟอร์มให้ได้เห็น แถมราคาก็แพงบ้าเลือด อาศัยว่าใจรักบวกกับความบ้า เลยกล้าสั่งมาลองๆดูซักหน่อย พองอกงามเข้าก็ติดใจ อดสั่งตัวใหม่ๆไปไม่ได้
ดีอยู่อย่างที่สับปะรดหนามพวกนี้ถูกจริตกับประเทศไทยเสียเหลือเกิน ค่าที่ชอบอากาศแล้งบ้าง ฝนบ้าง แต่มีแดดดีๆตลอดทั้งวันในไทยแลนด์แดนสไมล์แห่งนี้ พอต้นแม่ปรับตัวได้ หนูๆสัปปะรดหนามต่างเชื้อชาติก็เลยพากันแตกหน่อกันไม่ลืมหูลืมตาแบบพรึ่บพรั่บจนกลายเป็นสับปะรดหนามสัญชาติไทยให้เห็นกันเต็มไปหมด
ปัจจุบันมีคนเล่นสับปะรดหนามมากขึ้นกว่าเดิมมาก มีพ่อค้าหัวใสนำเข้ามาทำหน่อขายกันเต็มไปหมด สับปะรดหนามชนิดที่แตกหน่อง่าย ขยายพันธุ์เร็ว ก็เลยมีราคาไม่แพงนัก หลักร้อยนิดๆก็สามารถซื้อหามาเป็นเจ้าของได้อย่างไม่ยากเย็นครับ ไม่ว่าจะเป็น Dyc. manier-lapostollei ที่ได้กล่าวไว้ข้างบน หรือผองเพื่อนอย่าง Dyc. “Cherry Coke” และ Dyc. “Red Devil” ที่ขยันแตกหน่อกันเสียเหลือเกิน แต่ก็ยังมีสับปะรดหนามอีกหลายชนิดที่ยังมีราคาสูงและมีจำนวนน้อย ถ้าใครรักใครชอบชนิดไหน ก็ลองเสาะหา สืบถามราคาดูก่อนซื้อนะครับ
วิธีการเลี้ยงสับปะรดหนามพวกนี้นั้นหรือก็ง่ายแสนง่าย ขอเพียงแดดจัดๆ ใช้วัสดุปลูกเป็นอินทรีวัตถุอย่างใบไม้ผุ หรือดินใบก้ามปู ผสมกับหินภูเขาไฟให้โปร่งซักนิด จะได้ระบายน้ำได้ดี แต่ยังมีความชื้นเก็บอยู่ ก่อนจะประเคนปุ๋ยให้บ่อยๆ เพียงแค่นี้ รับประกันว่าหนูๆสับปะรดหนามแสนรักของคุณๆ ก็จะงามไม่แพ้ใครเป็นแน่แท้
ไม่เชื่อก็ต้องลองครับ
18 comments On สับปะรดหนาม ** Dyckia
ดึกดึ๋ย แน่นิ่ง หนามแหลม แทงมือ เลือดออกทีคงหมดตัว คมซะขนาดนี้ แพง ไม่ชอบ :angel:
คือพวกไม้กลุ่มนี้ มันก็ดูสวยคลาสสิคดุดันดีนะครับ แต่รู้สึกว่าตัวเองใจเย็นไม่พอที่จะเลี้ยงดูสักเท่าไหร่ :happy: ที่บ้านจากแต่ก่อนมีแดดอยู่บ้างตอนนี้กลับกลายเป็นว่ามืดไปหมด หาแดดยากเย็นเหลือเกินครับ Inviฯ :pinch:
หนามมันโหดจริงๆ ขนาดมีวิ่งย้อนทางด้วย
@Paul, เนอะๆๆ
เป็นต้นไม้กลุ่มโปรดของ Invisible เลยหล่ะครับ สับปะรดเนี่ย
ความที่เค้ามีหลากหลาย เลยเล่นเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อ โดยเฉพาะพวกหนามๆ จะจับทีก็ต้องคิดเยอะๆ ช่วยให้มีสติอยู่กับตัวเองมากขึ้นเหมือนกัน :silly:
ยังมีตัวที่น่าสนใจอีกหลายต้นเลยครับ ไว้จะค่อยๆ ทยอยเอามาลงให้ชมกันนะครับ
@Invisible, ดี
พวกหนามๆไม่ไหวครับ เป็นคนซุ่มซ่าม ปลูกแล้วเจ็บตัวตลอด แต่ว่ากุหลาบพอไหว ชอบ :heart:
@มิน, หนามเยอะไปอะพี่ – -“
ตามมาชมภาพจากนายล่องหนอีกเหมือนเดิม
คราวนี้คอนทราสไม่จัด แต่ออพเจ็คจัดจ้านแทน
เห็นแต่ละใบ หนามแต่ละหนาม บวกมุมถ่ายรูป
ที่เหมือนจะกดหน้าคนดูให้ตกลงไปในกองสับปะรดจอมโหด
เห็นแล้วลมจะใส่ เฮ้อ ทำให้นึกถึงตอนที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราว
แล้วเอามือแหวกลงไปเขี่ยใบไม้แห้งที่บังแดด กอสับปะรดที่บ้าน
พอดึงมือขึ้นมา เลือดสาดดด ไหลนองพื้น หน้ามืดยืนมึนอยู่ตรงนั้น
เฮ้อ ทำไมตูมันบื้อขนาดนั้นน้าาาา :blink:
…ยังงัยก็ขอบคุณสำหรับภาพ และ ข้อมูลดีดีนะครับ
ขอบคุณครับ, ไว้ไปช่วยทำสวนดีไหมเนี่ย ฮ่าๆ
บังเอิญจริง ไปได้หนังสือสัปปะรดสีดังใจ สามียังเหน็บสัปปะรดสีมาฝากจากงานเกษตรที่กรุงเทพ พอเปิดเมล์ได้อ่านบทความสัปปะรดหนามอีก ดีใจจริงๆนะนี่ ช่วงนี้บรรดาต้นไม้ที่บ้านยิ่งงอนๆๆอยู่ด้วยเพราะไปหลงไหลได้ปลื้มกับสมาชิกกุ้งสีตัวน้อยๆๆ ได้ตัวกระตุ้นขนาดนี้ คงต้องรักมากกว่าเดิมสะแล้ว พออ่านแล้วงงนะแต่ละสกุลไม่แตกกต่างเลย ใครก็ได้ทำตารางความแตกต่างที 😆 น้าหมูศรีราชาเมืองสัปปะรดอร่อย
แพงไม่ชอบเหมือนกัน ฮ่าๆๆ copy คนโพสคนแรกมาครับ
ยิ่งคน ซุ่มซ้ามแบบผม ขา มือ ลายตลอดเวลา :happy:
@MEKHONG, ถูกต้องนะพี่ :w00t:
วันนี้ไปยืนดู มาครับพวก สัปปะรดสี มาแปบนึงครับ ยังไม่ถามราคาเลย ก็เผ่นแหละ ฮ่าๆๆ
ไม่ใช่ไม่ชอบน่ะครับถ้ามีบ้านมีที่ดินเยอะๆน่าแต่งสวนสวยๆดี
แต่…..ยังก่อนน่ะครับ แล้วซักวันถ้ามีวาสนาต่อกันเราจะได้ เจอกันในบ้านของเรา :wub:
อ่านรอบที่สองคะ รอบแรกอ่านผ่านๆเนื่องจากมึนด้วยพิษไข้ ต้นไม้หนามนี่ที่บ้านไม่โปรดมานานแล้วคะ เคยบ้าโป๊ยเซียนแบบต้นนิดเดียวพันกว่าบาทก็กล้าซื้อ เรื่องซื้อไม่เท่าไรค๊า แต่เรื่องดูแลแล้วต้องเจ็บตัวเพราะหนามเกี่ยวนี่ไม่ไหว ปัจจุบันมีสับปะรดสีอยู่กอนึงแรกๆก็เจอแดด พอนานไป โดนไม้อื่นบังรัศมี ไม่ค่อยเจอแดด แล้วต้นนี้ปลูกด้วยดินภูเขาไฟ จะไปหาที่ไหน จึงขอเป็นผู้ชมดีกว่า
ปกติผมใช้ถุงมือปอกทุเรียนเวลาจะทำอะไรกับมันอ่ะครับ ก้อสะดวกดีเหมือนกัน
ต้นนี้ปลูกในอะไรก็ได้ ขอให้ระบายน้ำดีเท่านั้นเองครับ จริงๆแล้วก็เป็นต้นไม้ที่ทนมากตัวหนึ่งเลยล่ะครับ
ดอกมันสวยมาก ดอกสวยๆมักจะมีใบที่มีหนาม ขอชมในเว็ปดีกว่าค่ะ ขนาดปลูกต้นตะบองเพชรยังตายเลย :cwy:
กำลังบ้าสัปรดเหมือนกันคะ มีสักเกือบ100ต้นแล้วคะส่วนใหญ่ตระกูลนีโอ เลี้ยงใจร้อนไม่ได้เลยคะ เพราะถ้าเร่งปู๋ยเยอะ เสียฟอร์มหมดเลยคะ เป็นต้นไม้ที่โตช้าจริงๆ หัดเลี้ยงได้ปีกว่าๆคะ :biggrin: