รู้จักกับด้านมืดกันไปแล้วจากบทความน้องตับเป็ด พร้อมแล้วหรือยัง ที่จะเดินสู่ด้านสว่างกับ Fiyero ???
จากบทความครั้งโบราณกาล คงยังพอจะจำพุดพิชญาสายพันธุ์ใหม่ หรือ พุดพิชญาดอกกลม ที่มีดอกกลมใหญ่กว่าแบบนอร์มัล ๆ นะครับ ผ่านมาหลายเดือน ก็มีอะไรหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป

พุดพิชญา สายพันธุ์ใหม่ ดอกใหญ่ ^^ Wrightia antidysenterica ^^
วันนี้ก็เลยขอยกต้นเก่ามาเล่าใหม่อีกครั้งแล้วกัน…
(เพิ่มเติม…)
คำค้นWrightia, Wrightia antidysenterica, ดอกสวย, ดอกสีขาว, ดอกใหญ่, ดอกไม้, ต้นไม้, พันธุ์ใหม่, พุดพิชญา, พุดพิชญาดอกกลม, สายพันธุ์ใหม่, ออกดอกทั้งปี
|
บทความนี้่ดองไว้นานแล้วล่ะครับ พอดีแมคยังไม่มีเวลามาเขียนเท่าไหร่เลยพักไว้ก่อน … โอเคครับวันนี้มานั่งเขียนอีกครั้งให้เสร็จเพราะดองไว้นานๆเดี๋ยวโดนค้อนควั่บๆด้วยข้อหาขี้เกียจ
โดยส่วนตัวแล้วเรื่องกล้วยไม้ต่างๆแมคไม่สันทัดเลยครับ และก็ไม่เคยซื้อมาปลูกและนำเข้าบ้านเลยสักต้นเดียว ตรงข้ามกับม๊าของแมคที่ “ชอบมาก” และ “ชอบม้ากมาก” ม๊าจะชอบ “แคทลียา” และ “ช้าง” มากๆ ไปตลาดต้นไม้ทีไรต้องเอากลับบ้านมาครั้งละต้นสองต้น ตอนนี้ที่บ้านก็เลยมีกล้วยไม้เยอะแยะต้นเล็กต้นน้อย ที่เยอะๆหน่อยช่วงนี้ก็คือ “กล้วยไม้ดิน” นี่แหละครับ ขนาดไม่ได้ไปเองก็ยังฝากมิวคุงซื้อกลับมาฝากด้วย

กล้วยไม้ดิน – บานดึก, Spathoglottis eburnea
ไหนๆก็เข้าสู่บ้านมาแล้ว จะไม่สนใจใยดีเลยก็กระไรอยู่ ก็เลยนั่งเปิดค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆและการเลี้ยงเพื่อมาบอกกับม๊าบ้างล่ะครับ และได้มาเห็นรูปในมุมมองของช่างภาพประจำบ้านก็ดูสวยดีและมีเสน่ห์ครับ โอเคล่ะ … ตอนนี้ก็เริ่มชอบขึ้นมาอีกระดับนึง แมคไม่ได้มีอคติอะไรกับกล้วยไม้เลยนะครับ เพียงแต่ว่าแมคไม่ได้ชอบต้นไม้วงศ์ไหนเป็นพิเศษ เพราะว่ามันจำกัดด้วยเนื้อที่การปลูกของที่บ้านเป็นหลัก

กล้วยไม้ดิน – บานดึก, Spathoglottis eburnea
ต้นไม้ที่จะเอาลงดินจะต้องเอามาเข้าที่ประชุมของบ้าน (ขนาดนั้นเลยหรอ) ว่าลงดินแล้วต้นนั้นต้องคุ้มที่สุดถึงจะเอาลงดิน แน่นอนล่ะพวกไม้เลื้อยถ้าบุญไม่สูงพอไม่มีทางได้ลงดินที่บ้านแมคแน่ (โอ้วววว) ได้แต่เลื้อยวนไปวนมาในกระถางนั่นแหละ อิอิ ส่วนเรื่องกล้วยไม้มันค่อนข้างจะเรื่องมากในการดูแลเรื่องแดด เครื่องปลูก และการบำรุงรักษา แมคเองก็ไม่ได้ขยันอะไรขนาดนั้นซะด้วยสิ เง้อ~*
อ่ะ! โอเค … เข้าเรื่องครับ กล้วยไม้ดินต้นนี้สีขาวครับ เป็นพันธุ์ที่เห็นได้น้อยกว่าสายพันธุ์ผสมสีอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความหายากนะครับ เพียงแต่สีอื่นจะทำออกมาได้ง่ายกว่า กล้วยไม้ดินสายพันธุ์นี้มีชื่อว่า “บานดึก” ครับ
(เพิ่มเติม…)
ก่อนอื่นเลยแมคแจ้งข่าวอัพเดทนิดนึงนะครับ บางท่านอาจจะยังไม่ได้สังเกต {^_^} เราเพิ่มหน้า เกี่ยวกับนาย Fiyero ขึ้นมาอีก ๑ หน้าแล้วนะครับ เห็นเข้ามาเขียนในบล็อกหลายบทความแล้ว อยากรู้จักนายคนนี้ให้มากขึ้นอีกนิดลองเข้าไปดูกันนะครับ อ่้ะเข้าเรื่องละ
และแล้วก็มีวันนี้จนได้นะครับ {^_^} วันที่พุดต้นนี้ของแมคบานซะที ซึ่งจริงๆแล้วแมคเคยเขียนเรื่องพุดต้นนี้ไปแล้วเมื่อ ๑-๒ เดือนก่อนในบทความเรื่อง ต้นอะไรเอ่ย? จนถึงบัดนาวเราก็ยังไม่รู้ชื่อสามัญที่แท้จริงของพุดต้นนี้ ก็เอาว่าแมคของเรียกชื่อตามท้องตลาดที่เอามาขายกันว่า “พุดแอฟริกา” ไปก่อนก็แล้วกันนะครับ
แมคได้ “พุดแอฟริกา” ต้นนี้มาจาดตลาดนัดต้นไม้สวนจตุจักรวัน พุธ-พฤหัสบดี ในราคาที่มานั่งนึกอีกทีมันก็ค่อนข้างจะสูงเอาการครับ ถามว่าคุ้มกับราคาไหม? ถึงตอนนี้อาจจะตอบได้ไม่เต็มปากเต็มคำว่า “คุ้มมาก” หรือ “เสียดายเงิน” สาเหตุคืออะไรลองติดตามอ่านกันนะครับ

พุดแอฟริกา, พุด Afro
โอเคล่ะในเมื่อยังไม่มีชื่อสามัญตามท้องตลาดที่ใช้กันแบบเป็นที่รู้จัก แมคก็เลยตั้งชื่อเล่นสนุกสนานให้คุณพุดต้นนี้เลยละกันว่าชื่อ “พุด Afro” (พุดแอฟโฟ) ขอสงวนลิขสิทธิ์ชื่อนี้ไว้ที่บล็อกนี้ละกันครับ อย่าจำเอาไปใช้กันทั่วไปละกันนะครับ เพราะข้อมูลอะไรมันก็ยังไม่แน่ชัด มีแค่แมคกับ Fiyero ๒ คนที่เรียกพุดต้นนี้ว่า “พุดแอฟโฟ” แมคได้ชื่อวิทยาศาสตร์ของ “พุดแอฟริกา” ต้นนี้มาโดยการช่วยเหลือของ Fiyero ครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณเป็นอันดับแรก

พุดแอฟริกา, พุด Afro
จากข้อมูลอ้างอิงของเวป TopTropicals เค้าให้ชื่อวิทยาศาสตร์ของพุดต้นนี้ว่า “Gardenia nitida” และ/หรือ “Gardenia posoqueria” ซึ่งทาง TopTropicals ให้ข้อมูลว่าถิ่นกำเนิดของ “พุดแอฟริกา” ต้นนี้อยู่ที่ “ประเทศไทย” และ หมู่เกาะ “โพลินีเซีย” ซึ่งขัดแย้งกับชื่อทั่วไปในตลาดต้นไม้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ของเค้าอาจจะใช่หรือไม่ใช่ยังไม่สามารถยืนยันได้ครับ
(เพิ่มเติม…)
คำค้นGardenia nitida, Gardenia posoqueria, ดอกสีขาว, ดอกหอม, ดอกไม้, ต้นไม้, ปลูกต้นไม้, พุด Africa, พุดอัฟริกา, พุดแอฟริกา, ออกดอกทั้งปี
|
ละเลงโดย Fiyero วันพุธ 6 พฤษภาคม 2009
มึนไปแล้ว 53 ความคิดเห็น